กิจกรรมจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

“จิตศึกษา” เป็นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาภายใน ซึ่งทำงานกับสมองชั้นกลาง และสมองชั้นนอก เมื่อใช้กับผู้เรียนด้วยกระบวนการ และวิธีการของจิตศึกษาจะเป็นการค่อยๆสร้าง การก่อรูปคุณลักษณะของปัญญาภายในขึ้น การฝึกฝน และการใช้ซ้ำๆ  จะทำให้รูปของคุณลักษณะนั้นคงตัว “สมองชั้นใน” เกี่ยวกับความอยู่รอด เป็นสมองสัตว์เลื้อยคลานทำงานตามสัญชาตญาณ เพื่อความอยู่รอดไม่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกหรือความดีงาม เช่น จระเข้กัดกินลูกของตัวเองได้เมื่อมันหิว “สมองชั้นกลาง” เกี่ยวกับอารมณ์เป็นสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำงานเกี่ยวกับความรู้สึกหรือความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ “สมองชั้นนอก” เป็นส่วนที่พอกหนาขึ้นมามาก
เป็นสมองแห่งความเป็นมนุษย์ ทำหน้าที่ที่ละเอียดอ่อน เช่น คิดเรื่องที่เป็นนามธรรม ความงาม ความดี ความจริง มีมิติทางวัฒนธรรมและมีจิตวิญญาณ สมองส่วนนี้ช่วยสร้างโอกาสให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตวิญญาณไปสู่การมีความรักอย่างไพศาลทั้งต่อเพื่อนมนุษย์และต่อสรรพสิ่ง มีอิสระหลุดพ้นจากการบีบคั้นหรือเครื่องครอบทางจิตวิญญาณและทางปัญญาจะมีความสุขอันประณีต สมองทั้ง 3 ชั้น ทำงานกันคนละหน้าที่ แต่ทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่นเมื่อเด็กรู้สึกถูกคุกคามสมองชั้นในของเด็กจะทำงานก่อนด้วยการเข้าสู่ภาวะปกป้องตัวเองหรือการเอาตัวรอดจะอาจทำให้สมองส่วนอื่นๆ ทั้งส่วนการเรียนรู้ คุณธรรม ความรัก หยุดทำงานแต่ถ้ากระตุ้นสมองชั้นนอกด้วยการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกให้เด็กได้เกิดอารมณ์เชิงบวกรู้สึกได้รับคุณค่าเมื่อนั้นสมองส่วนหน้าและสมองส่วนกลางก็จะทำงานได้ดี

กระบวนทัศน์ของจิตศึกษา ประกอบด้วย ฟันเฟืองสำคัญ 3 อย่างได้แก่
“ความเป็นชุมชน” ซึ่งเป็นทั้ง พื้นที่และบรรยากาศที่เสมือนเป็น เบ้าหลอมใหญ่
“จิตวิทยาเชิงบวก” ซึ่งเป็นวิธีการที่ เน้นชี้ถูกและการเป็นแบบอย่าง
“กิจกรรม” ซึ่งเป็น เครื่องมืออันหลากหลายที่ใช้ฝึกฝน

ที่มา จากหนังสือ “จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน”

ผู้เขียน วิเชียร ไชยบัง  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

 

 

Written by 

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.